ประเพณีแห่ผ้าและห่มผ้าองค์หลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา

ประเภทวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ : พิธีกรรมและเทศกาล

         หลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่มาแต่สมัยโบราณ ตามความเชื่อว่า พระเจ้าตากสินมหาราช ยกทัพผ่านมาทางบ้านหัวคู้ และได้มอบพระพุทธรูป โลหะ 1 องค์ ชาวบ้านหัวคู้เล็งเห็นว่าพระพุทธรูปโลหะนี้มีค่ายิ่งนัก จึงได้สร้างพระพุทธรูปปูนปั้น ครอบองค์โลหะไว้เพื่อกันขโมย ประดิษฐานไว้ ณ บ้านหัวคู้ ชื่อว่าหลวงพ่อเขียว เพราะพระเจ้าตากสินได้ให้ทหารชื่อว่าเขียวเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ฝังไว้ ภายหลังหลวงพ่อบุญปลูกมาเป็นเจ้าอาวาส จึงได้บูรณปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ. 2520 และถวายนามว่า “หลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา” เป็นพระพุทธรูปประจําวัดหัวคู้ ตําบลศีรษะจรเข้น้อย อําเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ

          แต่เดิมพระประธานองค์หลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง บริเวณในวัดหัวคู้ และต่อมาได้สร้างวิหารครอบองค์พระประดิษฐานในวิหารของวัดหัวคู้  ช่วงน้ำหลากจะมีน้ำท่วมขังในแต่ละปี ประมาณ 4 เดือน มีปลาตะเพียนมาอาศัยอยู่ในวิหารจํานวนมาก (ตามความเชื่อมีประชาชนมาไหว้สักการะบนบานด้วยปลาตะเพียนสาน) ต่อมาผู้นําชุมชน ประชาชน คณะกรรมการวัด จึงร่วมมือกันบูรณะองค์พระและวิหารให้สูงขึ้นจากเดิม จากเดิม 2.05 (ด้านหลัง) 1.75 เมตร (ด้านหน้า) โดยเริ่มบูรณะวันที่ 6 เมษายน 2551 มาจนกระทั่งช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2552 การบูรณะองค์พระและวิหารได้สมบูรณ์ในระดับหนึ่ง ทางวัด ผู้นําชุมชน ประชาชนและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบลศีรษะจรเข้น้อย ได้ร่วมกันประชุม หารือแนวทางเพื่อให้ประชาชนตําบลศีรษะจรเข้น้อยหรือประชาชนข้างเคียงและประชาชนทั่วไป ได้ร่วมกันสักการะพระประธานองค์หลวงพ่อเขียวซึ่งเป็นพระพุทธรูปศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน จึงได้ลงความเห็นจัดประเพณีแห่ผ้าจัดประเพณีแห่ผ้าห่มพระประธานองค์หลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธภควา และพิธีห่มผ้าพระประธานองค์หลวงพ่อเขียวสุโขพุทโธพุทภควา วัดหัวคู้ ซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่นประจําตําบลศีรษะจรเข้น้อย จัดในช่วงวันมาฆบูชาของทุกปี เริ่มจัดในปีแรก พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน