ขนมสายบัว

ประเภทวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ : ความรู้แนวปฏิบัติธรรมชาติและจักรวาล

ขนมสายบัวเป็นขนมที่ถือเป็นภูมิปัญญาของคนทุ่งบางเสาธง ในอดีตท้องที่อำเภอบางเสาธงเป็นบริเวณที่มีดอกบัวมาก  เคยเป็นแหล่งบัวที่นำไปใช้ในประเพณีรับบัวของชาวบางพลี  บัวที่ใช้ทำขนมจะเป็นบัวแดงซึ่งปลูกในท้องถิ่น ส่วนผสมขั้นตอนและกรรมวิธีในการทำขนมสายบัว  จะมีลักษณะคล้ายกับขนมกล้วย ขนมเผือกและขนมฟักทอง   นับวันจะหาขนมสายบัวรับประทานได้ยาก  เนื่องจากขาดคนสืบทอดภูมิปัญญาและขาดวัตถุดิบในการทำ  เนื่องจากพื้นที่ที่ปลูกบัวน้อยลง หากใครได้ลิ้มชิมรสก็จะบอกว่าอร่อย

 ส่วนผสม

1. สายบัวสับ 1 ถ้วย

2. แป้งข้าวจ้าว 1 ถ้วย

3. แป้งท้าวยายม่อม ½ ถ้วย

4. น้าตาลมะพร้าว 1 ถ้วย

5. น้าตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ

6. หัวกะทิ 2 ถ้วย

7. มะพร้าวทึนทึกขูด 1 ถ้วย

8. เกลือป่น 1 ช้อนชา

วิธีทำ

1. นำสายบัวมาปลอกเปลือกออก แล้วหั่นหรือสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วน้าเกลือมาขยำกับสายบัวให้นิ่ม ล้างน้ำหลาย ๆ ครั้งให้หายเค็ม แล้วบีบน้ำออกให้แห้งพักไว้

2. นำน้ำตาลมะพร้าวมาละลายกับหัวกะทิ แล้วใส่แป้งทั้งสองชนิดลงไปขยำให้เข้ากันดี เติมน้ำตาลทรายและสายบัว ขยำให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากัน ใส่เกลือป่นและเนื้อมะพร้าวลงไป (มะพร้าวแบ่งไว้สำหรับโรยหน้านิดหน่อย) แล้วคนให้เข้ากันดีพักไว้ 15 นาที

3. ตั้งน้ำให้เดือด ขนมจะใช้ห่อด้วยใบตองหรือใส่ถ้วยตะไลหรือใส่ถาดนึ่งหรือท้ากระทงก็แล้วแต่ตามสะดวก น้าเดือดแล้วเอาขนมลงไปนึ่งใช้เวลา 20 นาที ผ่านไป 15 นาที เปิดฝาโรยหน้ามะพร้าว (กรณีใส่ถ้วยตะไล ใส่กระทงหรือใส่ถาด ถ้าห่อด้วยใบตองก็โรยไปเลย) มะพร้าวให้ผสมเกลือนิดหน่อย แล้วนึ่งต่ออีก 5 นาทีเป็นอันเสร็จ ถ้าใส่ถาดอาจเพิ่มเวลาเล็กน้อย เช็คขนมสุกโดยการใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มลงไปในขนม ถ้าไม่มีแป้งติดขึ้นมาแปลว่าขนมสุกใช้ได้แล้ว