นกเตียนเทียน
ประเภท : นกที่พบในพื้นที่เกษตรกรรม
วงศ์นก : วงศ์นกตีนเทียน (Recurvirostridae)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
ชื่อสามัญ :
ลักษณะทั่วไป
นกมีขนาดเล็ก-กลาง มีขนาดประมาณ 38 เซนติเมตร หัว ลำตัว ท้องและก้นมีสีขาว บางตัวกระหม่อมและท้ายทอยอาจมีสีคล้ำ ปีกและหลังมีสีดำเข้ม ปากมีสีดำบางแหลมยาวคล้ายเข็ม ขายาวมีสีแดงอมชมพูเป็นที่สะดุดตาเมื่อพบเห็นในธรรมชาติที่นกชนิดนี้หากินอยู่
พฤติกรรมและถิ่นอยู่อาศัย
นกชนิดนี้อยู่อาศัยตามพื้นที่ชุ่มน้ำ ลำคลอง หนองบึง และในพื้นที่อำเภอบางเสาธงซึ่งมีแปลงนา และมีบ่อเลี้ยงปลา บ่อเลี้ยงกุ้งจำนวนมาก ก็จะสามารถพบนกชนิดนี้ได้ในบ่อเลี้ยงกุ้ง บ่อเลี้ยงปลา ทุ่งนา โดยเฉพาะสามารถพบนกชนิดนี้ในแปลงนาหลังระยะเวลาเวลาที่มีการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วซึ่งแปลงนาจะมีน้ำท่วมขังเล็กน้อย และยังสามารถพบในบ่อเลี้ยงปลา บ่อเลี้ยงกุ้งภายหลังจากการวิดบ่อจับปลา หรือบ่อเลี้ยงกุ้งที่มีการจับกุ้งไปแล้วปล่อยให้สภาพบ่อมีน้ำแฉะหรือน้ำท่วมขังเล็กน้อย ซึ่งมักพบนกชนิดนี้เดินหากินกันอยู่เป็นฝูงตามบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำแฉะ หรือน้ำท่วมขังเล็กน้อย โดยใช้ปากจิกกินอาหารบนผิวน้ำ หรือใช้ปากจิ้มลึกลงไปใต้พื้นดินเลนหรือส่ายปากไปมาในน้ำเพื่อจับสัตว์ขนาดเล็กที่อยู่ในบริเวณนั้น เช่น ปลา กุ้ง หนอน แมลง เป็นต้น เมื่อจับเหยื่อได้สำเร็จนกจะกลืนกินเหยื่อทั้งตัว
อาหาร
อาหาร สัตว์ขนาดเล็กที่อยู่ในดินเลนหรือในน้ำ เช่น ปลา กุ้ง หนอน แมลง
การผสมพันธุ์
ทำรังวางไข่บนพื้นดิน โดยนกจะขุดดินเป็นแอ่งตื้น ๆ และใช้เศษหญ้าหรือเปลือกหอยมารองรัง แม่นกออกไข่สีน้ำตาลมีลายจุดสีเทาเข้ม และเมื่อลูกนกฟักตัวออกมาจากไข่ ลูกนกแรกเกิดจะมีขนอุยปกคลุมเต็มตัว เมื่อขนแห้งแล้ว ลูกนกสามารถเดินตามพ่อแม่ไปหากินได้ทันที โดยแม่นกไม่จำเป็นต้องเลี้ยงลูกอ่อนให้เติบโตในรัง
สถานภาพ
นกชนิดนี้จัดเป็นนกประจำถิ่นและสัตวป่าคุ้มครองของประเทศไทย ในพื้นที่อำเภอบางเสาธงสามารถพบนกตีนเทียนได้ตลอดปี โดยเฉพาะสามารถพบฝูงนกตีนเทียนได้บ่อยในบ่อเลี้ยงปลา บ่อเลี้ยงกุ้งในช่วงระยะเวลาภายหลังการจับปลา จับกุ้งแล้วปล่อยให้บ่อมีน้ำท่วมขังเล็กน้อยและมีน้ำแฉะ ๆ