หมอทำขวัญนาค (ขวัญเรือน เกตุขวง) ตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่

ประเภทวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ : ปราชญ์ชาวบ้าน

              พิธีทำขวัญนาค เป็นพิธีที่ทำขึ้นก่อนพิธีอุปสมบท เพื่ออบรมสั่งสอนนาคให้เห็นความสำคัญของพระคุณพ่อแม่ตั้งแต่ให้กำเนิด อุปการะเลี้ยงดูมา ด้วยการปฏิบัติตนให้เป็นคนดีอยู่ในพระวินัยของพระสงฆ์อย่างเคร่งครัด    ขณะอยู่ในเพศของพระภิกษุสงฆ์ เพื่อให้เกิดบุญกุศลและผลแห่งกุศลบังเกิดแก่พ่อแม่ผู้ให้กำเนิด อุปการะเลี้ยงดูมา เป็นการทดแทนบุญคุณของพ่อแม่ ตามคติความเชื่อโบราณของชาวพุทธ ชายที่มีอายุครบบวช (20 ปีบริบูรณ์) ต้องอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์เพื่อตอบแทนพระคุณของพ่อแม่

          เครื่องอุปกรณ์ในการทำขวัญนาค ประกอบด้วย โต๊ะหมู่บูชา ดอกไม้ธูปเทียน บายศรีปากชาม นิยมทำบายศรีพญานาค 5 ชั้น 7 ชั้น 9 ชั้น แต่บางบ้านกลัวฝนตกก็ไม่ทำบาศรีพญานาคก็ทำเป็นบายศรีธรรมดา ยอดใบตอง 3 ทาง เครื่องคาวหวาน ขนมมงคล เช่น ขนมถ้วยฟู ทองหยิบ ทองหยอด เงินกำนลไหว้หมอขวัญคนละ 12 บาท  บริเวณงานประดับด้วยธงหลากสี ติดกระดาษตัดลายเทวดา

          หมอขวัญเรือน ลูกปราการ ได้รับถ่ายทอดความรู้พิธีทำขวัญนาคเมื่อพ.ศ 2529 จากอาจารย์ขาบ เนตรสุวรรณ และมาศึกษาเพิ่มเติมกับหมอประสิทธิ์ ลูกคลองต้นไทร และหมอสุรพงษ์ เสียงทอง ตอนไปฝากตัวเป็นศิษย์ต้องมีขันกำนลใส่หมากพูล ดอกไม้ 1 กำ พวงมาลัย 1 พวง เหล้า 1 ขวด บุหรี่ 1 ซอง เงิน 112 บาท กำหนดเป็นวันพฤหัสบดี ยกเว้นที่ตรงกับวันพระ แล้วครอบเศียรพ่อแก่เป็นอันเสร็จพิธี

          การพิธีทำขวัญนาคจะทำกันในวันสุกดิบคือก่อนวันบวช ขั้นตอนเริ่มแรกเตรียมบายศรี เริ่มแรกเลยไหว้ครูก่อน แล้วจะเชิญเทพเทวดา แหล่บทว่ากำเนิดนาคมาจากไหน ร้องได้ทั้งหมอชายและหมอหญิงแต่ส่วนมากจะเป็นหมอหญิง ต่อด้วยบทเลี้ยงลูก บทกล่อมลูก บทเรียกขวัญนาคและบทสุดท้ายเป็นบทให้พรนาค พิธีเบิกบายศรี    หมอขวัญนาคจะทำพิธีเบิกบายศรีจะต้องเริ่มร้องเพลงทำนองนางนาคเบิกบายศรี (ดนตรีไทยบรรเลงตอนเบิกบายศรี) หมายถึงเอาผ้าคลุมหุ้มบายศรีออก ตอนนั้นเข้ายังหุ้มผ้าไว้เมื่อนำผ้าหุ้มออกแล้ว